ความเป็นมา
เมืองประจวบคีรีขันธ์ เดิมชื่อ เมืองนารัง เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 เมืองนารัง ได้ถูกทิ้งร้างจนถึง รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้สร้างเมืองใหม่ที่คลองบางนางรม แล้วย้ายที่ตั้งของเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองกุย เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ แต่ตัวศาลาที่ว่าการเมืองยังคงตั้งอยู่ที่อําเภอกุยบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รวมเมืองปราณบุรี เมืองประจวบ และเมืองกําเนิดนพคุณเข้าเป็นเมืองเดียวกัน พระราชทานนาม เมืองว่า เมืองปราณบุรีตั้งที่ว่าการอยู่ที่อ่าวเกาะหลัก ส่วนเมืองปราณบุรีเดิมให้คงเรียกว่าเมืองปราณ มีฐานะเป็นอําเภอ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่าชาวบ้านยังคงเรียกเมืองปราณสับสนกับชื่อเมืองปราณบุรี ซึ่งทางราชการย้ายมาตั้งที่เมือง เกาะหลัก จึงทรงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์
ที่ตั้งและอาณาเขต
ที่ตั้ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดหนึ่งใน 25 จังหวัดภาคกลางของประเทศไทยอยู่ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 12 องศา 31 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 99 องศา 9 ลิปดาตะวันออก กับ 100 องศา 1 ลิปดาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครประมาณ 325.3 กิโลเมตร
อาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา คือ ทิศเหนือติดต่อกับอําเภอ ชะอํา อําเภอท่ายาง อําเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทิศใต้ติดต่อกับอําเภอปะทิว อําเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ความยาวชายฝั่งทะเลประมาณ 224.8 กิโลเมตร ทิศตะวันตกติดต่อ สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาโดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนยาวประมาณ 283 กิโลเมตร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดขนาดกลาง พื้นที่ประมาณ 6,367.62 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.50 ไร่ ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือจดทิศใต้ประมาณ 212 กิโลเมตร ส่วนแคบที่สุดของประเทศและ จังหวัดอยู่ในเขตตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงแนวพรมแดนไทย – เมียนมาประมาณ 12 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโดยทั่วไปของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่าง ไทยกับเมียนมาลาดเอียงลงสู่ทะเลอ่าวไทยด้านตะวันออก และมีเทือกเขาและภูเขาอยู่ทั่วไป ทั้งบริเวณตอนกลางและ บริเวณชายฝั่งทะเลของจังหวัด เทือกเขาที่สําคัญ ได้แก่ เทือกเขาสามร้อยยอด ความสูงโดยเฉลี่ยของเทือกเขาด้าน ตะวันตกประมาณ 750 เมตร เหนือระดับน้ําทะเลสูงสุด 1,215 เมตร และต่ําสุด 306 เมตร ส่วนความสูงจาก ระดับน้ําทะเลแถบชายฝั่งตะวันออกโดยเฉลี่ยประมาณ 1 – 5 เมตร จากความลาดชันสูงก่อให้เกิดลําห้วยหลายสายไหล ลงสู่คลองและแม่น้ํา ได้แก่ แม่น้ําปราณบุรี แม่น้ํากุยบุรี คลองบางสะพาน คลองบางนางรม และคลองกรูด และในทะเลอ่าวไทยใกล้ชายฝั่ง มีเกาะรวม 21 เกาะ (กรมแผนที่ทหาร)
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในเขตมรสุมร้อนชื้นอากาศโดยทั่วไปไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป ความชื้นเฉลี่ยอยู่ ในเกณฑ์ค่อนข้า งสูงเนื่องจากอ ยู่ใกล้ทะเล ใน ปีพ. ศ. 2557 มีปริมาณฝน ลดล งจากปี พ . ศ .2556 จาก 1,418.5 มิลลิเมตร/ปี เป็น 1,000.5 มิลลิเมตร/ปี ปริมาณฝนสูงสุด 77.0 มิลลิเมตร/วัน จํานวนวันที่ฝนตก ลดลงจากปีก่อนจาก 113 วัน เป็น 96 วัน แต่อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2556 (27.67องศาเซลเซียส) เป็น 27.80 องศาเซลเซียส (เฉลี่ยต่ําสุด 23.80 องศาเซลเซียส เฉลี่ยสูงสุด 31.90 องศาเซลเซียส) มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยที่ 75.3 %